วันศุกร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2550

ต้นเพกา


ชื่อสมุนไพร เพกา
ชื่อวิทยาศาสตร์ Orxylum indicum Vent.

ชื่อสามัญ -ชื่ออื่น ๆ ลิ้นฟ้า ( อีสาน ) มะลิดไม้ ( เหนือ )

ลักษณะทั่วไป เป็นไม้ต้นสูงประมาณ 5 – 12 เมตร เปลือกลำต้นเรียบ มีสีเทา แตกเป็นร่องตื้น ๆ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกสามชั้น มีใบย่อย 5 ใบ รูปไข่ปลายแหลม โคนใบสอบเข้าและเบี้ยว ขอบใบเรียบ ดอกออกตรงปลายยอด เป็นดอกช่อกระจะ ( raceme ) ก้านดอกยาว มีดอกย่อย 20 – 35 ดอก จะบานพร้อม ๆ กัน 2 – 3 ดอก กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันเป็นรูปทรงกระบอก ยาว 3 – 5 เซนติเมตร ปลายบนไม่แยกเป็นกลีบ กลีบดอกค่อนข้างหนา สีเขียว มีแถบสีม่วงติดเป็นรูประฆัง ส่วนบนแยกออกเป็น 5 กลีบย่น เกสรเพศผู้มี 5 อัน แยกกัน ติดอยู่บนท่อกลีบดอก ขนาดสั้นยาวไม่เท่ากัน เกสรเพศเมียมีรังไข่ 1 อัน มี 2 ห้อง ( locule ) มีโอวูล ( ovule ) จำนวนมาก ผลเป็นฝักแบนยาว คล้ายดาบห้อยลงมามีเมล็ดจำนวนมากสีเขียวบางมีเยื่อหุ้มสีขาวหุ้มระยะเวลาออกดอกตั้งแต่เดือนมิถุนายน ถึง ธันวาคม

สรรพคุณ แก้ไอ ขับเสมหะ แก้ร้อนในส่วนที่ใช้เป็นยา เมล็ดแห้งวิธีใช้ จากการสัมภาษณ์ การรักษาอาการดังกล่าวโดยใช้เมล็ดแห้งประมาณ 1 กำมือ ใส่น้ำประมาณ 1 แก้ว( 300 ซีซี.) ใช้ไฟอ่อนๆต้มนาน 1 ชั่วโมง รับประทานวันละ 3 ครั้ง เช้า เที่ยงและเย็น ก่อนหรือหลังอาหารก็ได้การขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด

เพกา

วิธีใช้ ส่วนที่ใช้ประโยชน์ของเพกา คือ เปลือกต้น เมล็ด ฝักอ่อน และราก ซึ่งแต่ละส่วนจะให้สรรพคุณแตกต่างกันดังต่อไปนี้เมล็ด เป็นยาระบาย รักษาอาการไอ ขับเสมหะ เปลือกต้น แก้ร้อนใน ดับพิษกาฬ แก้ท้องร่วง ทำให้น้ำเหลืองเป็นปกติ ดับพิษโลหิต แก้บิด แก้อาเจียน ใช้ต้มดื่มแก้เสมหะ บำรุงโลหิต แก้จุกเสียด เปลือกต้นเพกาใช้ฝนกับสุรา ใช้กวาดคอและปากแก้พิษซาง แก้ซางเด็ก ใช้ทาแก้ปวดฝี แก้ฟกช้ำบวม ลดอาการอักเสบ และแก้แพ้ มีรายงานว่า เปลือกต้นเพกาใช้ต้มย้อมผ้าเพื่อให้ได้สีเขียวอีกด้วยนะคะฝักอ่อน ใช้ขับลม ช่วยให้ผายลม และขับเสมหะ เนื่องจากฝักอ่อนจะมีรสขม จึงนิยมเผาฝักอ่อนให้สุก และขูดผิวฝักอ่อนที่ไหม้ออกก่อนรับประทานนะคะ เพราะจะทำให้ความขมลดลงราก ใช้เป็นยาบำรุงธาตุ แก้ท้องร่วง ช่วยย่อยอาหารโดยทำให้เกิดน้ำย่อย แก้ไข้สันนิบาต ใช้ทาแก้อาการอักเสบ ฟกช้ำบวมเมล็ดแก่ ช่วยระบาย แก้ไอ ขับเสมหะ เนื่องจากเมล็ดเพกาสามารถแก้ไอ ขับเสมหะได้ จึงมีการนำเมล็ดเพกามาทำน้ำจับเลี้ยงส่งออก แต่ก็มีข้อควรระวังคือ ไม่ให้กินมากเกินไป เพราะอาจจะทำให้เกิดต้อเนื้อที่เรียกว่า "ต้อเพกา" ได้

มีคุณค่าทางโภชนาการคือ ในเปลือกของเพกามีสารไบคาไลน์ (baicalein) ไครซิน (chrysin) และเมทิลไบคาลิน (6-methylbaicallin)